ประเพณีลากพระหรือชักพระ

 

    เป็นประเพณีเนื่องในพุทธศาสนากระทำหลังจากวันมหาปวารณาหรือวันออกพรรษา 1 วัน ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน11โดยพุทธศานาสนิกชนพร้อมใจกันอาราธนาพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนบุษบกที่ วางอยู่เหนือเรือรถ หรือล้อเลื่อน แล้วแห่แหนชักลากไปตามลำน้ำหรือตามถนนหนทาง ถ้าท้องถิ่นในอยู่ริมน้ำหรือมีลำคลอง ก็ลากพระทางน้ำ ถ้าห่างไกลลำคลองก็ลากพระทางบก แล้วแต่สภาพภูมิประเทศเหมาะแก่การลากประเภทไหน

     มากกว่า กัน บางท้องที่ในจังหวัดตรัง พัทลุง และสงขลา มีการลากพระบกในวันแรม 1 ค่ำ ในเดือน 5 ก็มีในประเพณีลากพระของชาวใต้มีมาแต่โบราณและก่อให้เกิดวัฒนธรรมอื่น ๆ สืบเนื่องหลายอย่าง เช่น ประเพณีการแข่งเรือพาย การชัน (ประชัน) โพนหรือแข่งโพน การประชันปืดหรือแข่งปืด กีฬาชัดต้ม การทำต้มย่าง และการเล่นเพลงเรือ เป็นต้น

     นับครั้งภิกษุชาวจีนชื่ออี้จิงได้จาริกผ่านคาบสมุทรมลายูเพื่อไปศึกษาศาสนาในอินเดียในพ.ศ.21214-1238 ก็ได้เห็นประเพณีการลากพระของชาวเมือง"โฮลิง"อันเป็นชื่อเดิมของเมืองนครศรีธรรมราชจึงได้บันทึกไว้ว่า "พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งมีคนแห่แหนนำมาจากวัดโดยประดิษฐานจากรถ หรือบนแคร่มีพระสงฆ์และฆราวาสหมู่ใหญ่แวดล้อมมา มีการตีกลองและบรรเลงดนตรีต่างๆมีการถวายของหอมดอกไม้และถือธงชนิดต่างๆที่ทอแสงในกลางแดด พระพุทธรูปเสด็จไปสู่หมู่บ้านด้วยวิธีดังกล่าวนี้ภายใต้เพดากว้างขวาง"จาก หลักฐานในจดหมายเหตุของภิกษุอี้จิงนี้ทำให้นักวิชาการบางคนเชื่อว่าประเพณี ลากพระในภาคใต้มีมาแล้วตั้งแต่สมัยศรีวิชัยประเพณีลากพระของชาวใต้สมัยกรุง ศรีอยุธยาเห็นว่าเป็นประเพณีที่ทั้งสถาบันศาสนาและสถาบันกษัตริย์ถือเป็น เรื่องสำคัญยิ่ง

     ดังปรากฏในเรื่องประทวนตราให้แก่พระครูอินทร์โมลีคณะป่าแก้วหัวเมืองพัทลุงในพ.ศ.2242ว่า "แลเมื่อครั้งคณะป่าแก้วแต่ก่อนมีพระครูอันดับ6องค์ได้ช่วยการพระราชพิธีตรุศสารทแลงานลากพระถวายพระราชกุศล"และ ข้ออีกตอนหนึ่งว่า"แลราชการซึ่งเป็นพนัดแก่ขุนหมื่นกรมคณะป่าแก้วมีแต่หน้าที่เมืองเส้นหนึ่งแลการพระราชพิธีตรุศสารท แลงานลากพระเจ้าเมืองจะได้เบียดเสียดเอาข้าพระไปใช้ราชการนอกแต่นั้นหามิได้ " เมืองนครศรีธรรมราชปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชกาลพระเจ้าอยู่บรมโกศแม้แต่ผู้ตีกลองในงานลากพระก็ถือว่าสำคัญ จึงมีแจ้งไว้ในทำเนียบข้าราชการตกเป็นพระอัยการไว้ว่า"ขุนรันไภรีถือศักดินา200พนักงานตีกลองแห่พระ" ตำแหน่งนี้มีมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ดังปรากฏในทำเนียบข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราชครั้งรัชกาลที่ 2 ว่า "ขุนรันไภรีถือศักดินา 200 พนักงานตีกลองแห่พระ" เช่นกัน

 

 

 
Free Web Hosting