เพลงคำตัก
อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

ประวัติความเป็นมาของเพลงคำตัก
เพลงคำตัก เป็นการละเล่นอย่าง หนึ่งของชาวไทยพุทธในภาคใต้ เคยได้รับ ความนิยมในสมัยก่อน เพิ่งเสื่อมความนิยม ไปประมาณ 30 ปีมานี้เอง คำว่า “คำตัก” เป็นคำ ที่ตัดมาจากคำว่า “คำ ตักเตือน” เพราะสาระของบทร้องคำตักล้วนเป็นคำ ตักเตือนทั้งสิ้น กล่าวคือ การละเล่นชนิดนี้ เล่นเฉพาะงานบวชนาค และต้องเป็นนาคที่ บวชครั้งแรก โดยเล่นในวันสุกดิบหลังพิธี สงฆ์ และเล่นตอนแห่เจ้านาคจากบ้านไปวัด ถ้าจัดพิธีโกนหัวเจ้านาคที่วัด ก็เล่นคำตัก ตั้งแต่ตอนยกเจ้านาคขึ้นบ่า หรือขึ้นคาน หามจนกระทั่งเจ้านาคเข้าอุโบสถ สำหรับ งานบวชนาคในสมัยก่อน บ้านที่มีฐานะดี อาจจะจัดงานหลายวันหลายคืน แต่ละคืน จะมีคำตักประชันฝีปากกันหลายคณะ ผู้ ร้องเพลงคำตักส่วนใหญ่ก็คือผู้ที่ร้องเพลง บอก
โอกาสที่ใช้ในการแสดง
เพลงคำตัก ใช้ร้องในงานบวชนาค และแห่นาคเข้าโบสถ์ ขณะแห่นาคเข้าวัด หลังจากทำ ขวัญนาคแล้ว เนื้อเพลง เกี่ยวกับการบวช เช่น นาคลาพ่อลาแม่ ลา ญาติ ลาคนรัก
แม่เพลง อาจเป็นหญิงหรือชายก็ได้ โดยขับร้องกลอนสด ลูกคู่มีกี่คนก็ได้ร้องรับ พร้อมๆกัน ก่อให้เกิดความไพเราะแม้จะไม่มีดนตรีก็ตาม อรรถรสของเพลงอยู่ที่ สำนวน คำสั่งสอน ความกตัญญูรู้คุณ และ การสืบทอดพระพุทธศาสนาของเจ้านาค

 

 

 
Free Web Hosting